เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2564 เวลา 13.30 – 16.30 น. นางสาวเดือนเพ็ญ นรมาตย์ ปลัดอำเภอ(เจ้าพนักงานปกครอง ชำนาญการพิเศษ) รักษาราชการแทนนายอำเภอชนบท เป็นประธานการประชุมคณะทำงาน ควบคุมตรวจสอบกระบวนการผลิตสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ผ้าไหมมัดหมี่ชนบท ระดับพื้นที่ ระดับจังหวัด พร้อมลงพื้นที่สถานที่ผลิตสินค้า GI โดยมี ผู้แทนส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง และตัวแทนกลุ่มผู้ผลิตผ้าไหมชนบทเข้าร่วมประชุม จำนวน20 คน โดยนายนิยุทธ์ สืบสาย ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมการประกอบธุรกิจการค้าและการตลาด สำนักงานพาณิชย์จังหวัดขอนแก่น ได้รายงานความคืบหน้า ณ ห้องประชุมที่ว่าการอำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น

นายจำเริญ แหวนเพ็ชร พัฒนาการจังหวัดขอนแก่น ในฐานะหัวหน้าคณะทำงานควบคุมตรวจสอบกระบวนการผลิตสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ผ้าไหมมัดหมี่ชนบท ระดับพื้นที่ ระดับจังหวัด พร้อมลงพื้นที่สถานที่ผลิตสินค้า GI มอบหมายให้นางมณฑาทิพย์ นาทองห่อ นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ (ผู้ช่วยผู้อำนวยการกลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาชุมชน) เข้าร่วมประชุมหารือในครั้งนี้
การประชุมครั้งนี้ สืบเนื่องจากคำสั่งจังหวัดขอนแก่น แต่งตั้งคณะทำงานควบคุมตรวจสอบกระบวนการผลิตและจำหน่ายสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (“ผ้าไหมมัดหมี่ชนบท) ระดับจังหวัด ซึ่งกระทวงพาณิชย์มีนโยบายที่มุ่งเน้น การเพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ ด้วยการเพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการไทยทุกระดับ ให้สามารถแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพสร้างรายได้ให้เกษตรกรและผู้มีรายได้น้อย โดยการพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น มุ่งเน้นการสร้างการเจริญเติบโตจากภายในประเทศ ส่งเสริมการค้าการลทุนภายในท้องถิ่น สร้างชุมชนให้เข้มแข็งมีความสามารถในการแข่งขันจึงผลักดันให้สินค้าขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ เป็นที่รู้จักในต่างประเทศ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าชุมชนอย่างยั่งยืน”ผ้าไหมมัดหมี่ชนบท” เป็นสินค้าที่มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับ มีความเชื่อมโยงกับแหล่งภูมิศาสตร์ของอำเภอชนบท และได้รับขึ้นทะเบียนเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์กับกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ เมื่อวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2552 ทะเบียนเลขที่ สช 53100035 ในการประชุมหารือครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ติดตาม ตรวจสอบการดำเนินการของสมาชิกผู้ขออนุญาตใช้ตราสัญลักษณ์สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ และเพื่อรักษาภาพพจน์ในสินค้า ป้องกันการนำชื่อเสียงของผ้าไหมมัดหมี่ชนบท ไปแอบอ้างโดยทางทุจริตเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ ซึ่งในปี 2564 มีผู้ผลิตที่ยื่นขอใช้เครื่องหมายสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์(GI) และขอตรวจประเมิน ทั้งสิ้น 11 ราย แบ่งเป็นรายเดี่ยว จำนวน 8 ราย และรายกลุ่มจำนวน 3 ราย ทั้งนี้ คณะทำงานตรวจสอบและควบคุมตรวจสอบกระบวนการผลิตฯ ระดับพื้นที่และระดับจังหวัด ได้หารือแนวทางการขับเคลื่อนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน เพื่อขับเคลื่อนและรักษามาตราฐานสินค้าสิ่งบ่งชี้ ทางภูมิศาสตร์ “ผ้าไหมมัดหมี่ชนบท” ที่มีชื่อเสียงให้เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคต่อไป และคณะทำงานฯ ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบกระบวนการผลิตสินค้าบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) “ผ้าไหมมัดหมี่ชนบท” เพื่อติดตามและประเมินให้ปฏิบัติเป็นไปตามคู่มือ การปฏิบัติงาน สินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์”ผ้าไหมมัดหมี่ชนบท”
ทั้งนี้ ที่ประชุม ได้ดำเนินการตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรค covid-19 อย่างเคร่งครัด อาทิ การสวมหน้ากากอนามัยตามมาตรการการแพร่ระบาดของโรคติดต่ออันตราย





